1. ขอโควต้า
ยื่นได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด / สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
-แบบ นจ.1
-แสดงหลักฐาน
2. ยื่นคำร้อง
ยื่นได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด / สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
-แบบ นจ.2
-หนังสือแต่งตั้ง
-สัญญาว่าจ้าง
-เอกสารนายจ้าง
3. ประเทศต้นทาง
-รับสมัครแรงงาน
-คัดเลือกแรงงาน
-ทำสัญญา
-จัดทำบัญชีรายชื่อ
-ส่งรายชื่อให้นายจ้างไทย
4. ขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว
ยื่นได้ที่สำนังานจัดหางานจังหวัด / สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่
-บัญชีรายชื่อ
-แบบ ตท.2
-ชำระค่าคำขอ และค่าธรรมเนียม
-วางเงินประกัน (กรณีนายจ้าง)
5. การอนุญาตนำเข้า
กรมการจัดหางาน
-แจ้งการอนุญาตให้นายจ้างทราบ
-แจ้งสถานเอกอัครราชฑูตไทย
-แจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.)
6. อบรมก่อนเริ่มทำงาน
แรงงานต่างด้าวเข้ารับการอบรม ณ ศูนย์แรกรับเข้าทำงาน และสิ้นสุดการจ้าง ลาว (หนองคาย) พม่า (ตาก) กัมพูชา (สระแก้ว)
คนงานต่างด้าวจะได้รับ E-Work Permit
7. การนำส่งใบรับรองแพทย์
คนต่างด้าวตรวจสุขภาพ นำใบรับรองแพทย์ ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด / สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ได้รับ E-Work Permit
8. สิ้นสุดวาระการจ้าง
คนงานต่างด้าวเดินทางกลับประเทศต้นทางผ่านศูนย์แรกรับเข้าทำงาน และสิ้นสุดการจ้าง ถ้าต้องการกลับเข้ามาทำงานใหม่ ต้องเว้นวรรคอย่างน้อย 30 วัน
**การนำเข้าดำเนินการได้ 2 กรณีคือ นายจ้างดำเนินการเอง และมอบอำนาจให้ผู้รับอนุญาตดำเนินการ
กรณีที่ยังไม่สิ้นสุดสัญญาการจ้างงาน ตามมติคณะกรรมการฯ เมื่อ 1 พ.ย. 2559 มีกรณีดังนี้
-นายจ้างเลิกจ้าง / นายจ้างเสียชีวิต
-นายจ้างล้มละลาย
-นายจ้างกระทำทารุณกรรม หรือทำร้ายร่างกายลูกจ้าง
-นายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างงาน หรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
-สภาพการทำงาน หรือสภาพแวดล้อมที่อาจทำให้ได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย
-แรงงานจดทะเบียน และแรงงานนำเข้า MOU
-การเพิ่มสถานที่ที่ทำงานของนายจ้างรายเดียวกัน
-ในกิจการก่อสร้าง ขนส่งสินค้า หรือกิจการอื่นที่มีลักษณะการทำงานหลายแห่ง
-ในท้องที่จังหวัดเดียวกันยื่น 1 คำขอ (ทุกสถานที่ในท้องที่จังหวัดนั้น)
-หลายท้องที่จังหวัด ยื่น 1 คำขอต่อการเพิ่ม 1 ท้องที่จังหวัด
-ค่าคำขอ ๆ ละ 100 บาท (ยกเว้นค่าธรรมเนียมการเพิ่มท้องที่)
1. กรณีที่ยังไม่มีแรงงานต่างด้าว และต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว ให้ดำเนินการขอโควต้า และยื่นคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครตามพื้นที่
2. กรณีมีแรงงานต่างด้าวอยู่แล้ว และต้องการจ้างให้ถูกต้อง ให้ดำเนินการตรวจสอบเอกสารแรงงานต่างด้าวว่ามีเอกสารดังนี้หรือไม่
2.1 บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) ซึ่งด้านหลังเป็นใบอนุญาตทำงาน และยังไม่หมดอายุ
2.2 หนังสือเดินทาง หรือเอกสารแทนหนังสือเดินทาง มีตราประทับวีซ่า Non Immigrant L-A ยังไม่หมดอายุ
2.3 ใบอนุญาตทำงาน (เล่มสีน้ำเงิน) ที่ยังไม่หมดอายุ
3. หากตรวจสอบเอกสารแรงงานต่างด้าวแล้ว มีเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 2 ให้นายจ้างไปติดต่อสำนังานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ เพื่อขอนุญาตทำงาน หรือขอเปลี่ยนนายจ้าง แล้วแต่กรณี
4. หากตรวจสอบเอกสารแรงงานต่างด้าวแล้ว พบว่าแรงงานต่างด้าวไม่มีเอกสารใด ๆ เลย ให้สันนิษฐานว่าเป็นแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย ไม่สามารถดำเนินการจ้างได้
บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ 8 ทิศกู้ดเพาเวอร์ จำกัด ได้ลงนามเป็นพันธมิตรกับบริษัท KABAR SERVICES CO.,LTD ซึ่งเป็นพันธมิตรทางเมียนมา ซึ่งเป็นผู้นำทางด้าน ศูนย์ฝึกอบรมแรงงานที่ได้มาตรฐาน จากทั้งประเทศ สิงค์โปร์และประเทศมาเลเซีย ซึ่งศูนย์ฝึกอบรมแห่งนี้ได้ลงนามกับทางบริษัท