บริการจัดหาลูกจ้างต่างด้าว

แรงงานก่อสร้าง ต่างด้าว MOU

แรงงานก่อสร้างต่างด้าว MOU

        ทันที่ที่สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ภาพของการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.ก 2560 คงจะต้องเข้มข้นขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลแรงงานก่อสร้าง เป็นแรงงานหนึ่งในภาคส่วนที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศ โครงการก่อสร้างในภาครัฐบาล โครงการทางรถไฟฟ้าสีต่าง ๆ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการถนนขนส่งสาธารณะต่าง ๆ และอีกนานัปการโครงการ EEC
        ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องใช้แรงงานก่อสร้างมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีทั้งเมียนม่าร์ (พม่า) , กัมพูชา , ลาว แต่สิ่งหนึ่งที่มักมีปัญหาบ่อย ๆ ระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้าง และบุคคลากรที่ทำงานร่วมกัน มักติดกับปัญหาดังนี้
        1) ความไม่เข้าใจในวัฒนธรรมที่มีต่อกัน
        2) ความไม่เข้าใจภาษาสื่อสารต่อการ
        3) ความไม่มีทักษะในงานก่อสร้าง (Skill)
        4) ปัญหาเชิงกฎหมาย ที่ยังไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจมากเกินไป
        5) ปัญหาเรื่องเชื้อชาติที่ไม่เข้าใจต่อกัน
        6) ปัญหาไม่เข้าใจการทำงานในองค์กร

   


แรงานงานก่อสร้างพม่า (เมียนม่าร์) MOU กับการแก้ไขปัญหาในการทำงานต่อกัน
        ประเทศเมียนม่าร์เป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดติดประเทศไทยที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาอย่างยาวนาน มีประชาการที่สำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี 2558 ประมาณ 55 ล้านคน แต่สภาพเศรษฐกิจมีขนาดเล็กกว่าไทยมาก ประชากรส่วนใหญ่ยากจน มีความอดทน นับถือพุทธแบบวิปัสสนา-สมาธิ สภาพการปกครองในประเทศเมียนม่าร์ แบ่งเป็น 7 รัฐ 7 มณฑล หมายถึง 7 รัฐ คือ ความเป็นเขตปกครองซ้อนกับรัฐบาลกลางถึง 7 รัฐ มีดีงนี้
        1.) รัฐกะเหรี่ยง        2.) รัฐกะฉิ่น        3.) รัฐมอญ        4.) รัฐชิน
        5.) รัฐยะไข่        6.) รัฐกะยา(กระเหรี่ยงแดง)            7.) รัฐฉาน (ไทใหญ่)
        นั้นหมายความว่า ประชาการมีความแตกต่างในอัตตลักษณ์ของแต่ละรัฐ ทัศนคติความเชื่อ และความคิดต่าง ๆ ส่วน 7 มณฑลนั้นเป็นดินแดนที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางจากเนปิดอว์โดยตรง

   

 

แรงงานงานก่อสร้างพม่ามาจากไหน
        แรงงานพม่ามาจากแทบทุกรัฐ ทุกมณฑล ที่ต้องการนำพาตนเองให้พ้นจากความยากจน ยากลำบาก สังคมพม่าเป็นสังคมเกษตรตามชนบท ในพม่าก่อสร้างบ้านแบบง่าย ๆ บางทีเป็นไม้ที่หาได้ตามธรรมชาติ เช่น ตัวเรือนเป็นไม้ไผ่ หลังคาเป็นใบไม้ (ปาล์มใบพัด,ใบตองตึง) บางถิ่นเป็นไม้ตาล,ไม้ท้องถิ่น ความเป็นอยู่ในแต่ละวัน ทำอาชีพเกษตร ปลูกข้าว , ถั่ว และพืชผักเท่าที่จำเป็น ไม่ได้เป็นแบบประเทศไทย ที่เป็นแปลงใหญ่ เมียนม่าร์ปลูกแปลงเล็กๆ พอกินในครอบครัว การก่อสร้าง ก่ออิฐถือปูน ส่วนใหญ่มีการสร้างในเมืองใหญ่ ๆ ช่างที่มีความชำนาญการเหล่านั้นมีน้อย และเป็นที่ต้องการในชุมชน มีงานทำล้นมือ แต่ถ้าพูดถึง Skill ก็ยังคงไม่ได้มาตรฐานของไทย เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจของเมียนม่าร์ยังไม่สู้ดีนักยิ่งในชนบทงานก่อสร้างจึงเป็นงานที่สร้างตามสภาพ มาตรฐานงานจึงไม่สูงสภาพสังคมเป็นสังคมเกษตร เพราะต้องนำพืชผลมาเลี้ยงปากท้อง ผู้คนส่วนใหญ่จึงมีสภาพร่างกายที่แข็งแรง ทนทานสภาพอากาศแต่ขาด Skill ช่าง ในประเทศเมียนม่าร์ไม่มีการศึกษา ปวช. ปวส. งานช่างแบบไทย การหาความรู้ด้านช่างมาจากเรียนรู้จากช่างรุ่นใหญ่ แต่งานโครงการของประเทศไม่มีมาเป็นเวลา 60 ปี หลังจากการปฎิวัติเปลี่ยนการปกครองประเทศ โดยการปิดประเทศ เป็นฤๅษีแห่งเอเชีย ทำให้การพัฒนาส่วนงานช่างหยุดชะงักไปนาน
        เมียนม่าร์เป็นคนพุทธ มีนิสัยของความซื่อสัตย์อดทน ไม่ชอบพูดอ้อมค้อม ฉลาด เรียนรู้เร็ว มีความกระหายที่จะเรียนรู้ ในประวัติศาสตร์
        ชนเผ่าบะม่า (พม่า) เป็นชาตินักรบ ยอมหักไม่ยอมงอ ปากไม่หวาน แต่ทำงานแข็งแกร่ง
        ชนเผ่ากระเหรี่ยง อดทน ซื่อสัตย์ ทำงานแข็งแกร่ง
        ชนเผ่าไทใหญ่ ฉลาด รักศิลปะ อ่อนน้อม งานละเอียด
        ชนเผ่ามอญ ฉลาด รักศิลปะ ชอบเรียนรู้
        ชนเผ่ายะไข่  ทำงานแข็งแกร่ง งานช่างเก่ง
        ชนเผ่าชิน ยังเป็นชนเผ่าที่กันดาร แห้งแล้ง ซื่อใส ไม่ชอบออกต่างถิ่น
        ชนเผ่ากะฉิ่น ร่างใหญ่ ทำงานหนัก จิตใจอดทน

   

 

การทำงานของแรงงานเมียนม่าร์ในไทย
        เมื่อแรงงานเมียนม่าร์เดินทางเข้ามาถึงไทย ในช่วงแรกๆ คงมีปัญหาเรื่องการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรของไทย จากสังคมเกษตรมาสู่สังคมก่อสร้างของไทย ก็คงเหมือนกับไทยในสมัยก่อนประมาณ 40 ปีก่อนที่ต่างชาติมาทำงานในไทยกับแรงงานไทย แรงงานไทยในสมัยโน้นก็ย้ายมาจากแรงงานเกษตร แน่นอนการย้ายจากภาคเกษตรย่อมทำให้แรงงานมีความไม่ชำนาญในงานก่อสร้าง ซึ่งต้องอาศัยการสอน การฝึกจากองค์กรของนายจ้าง ซึ่งในสมัยนั้นก็มีทั้งญี่ปุ่น และยุโรป
        สำหรับแรงงานพม่าก็เช่นกัน แรงงานเมียนม่าร์ต้องการโปรแกรมการฝึกจากนายจ้าง แรงงานสนใจที่จะเรียนรู้กันอย่างมาก เพราะทุกคนรู้อยู่ว่าเป็นทางรอดของชีวิต ยิ่งถ้าตนเองมีความสามารถทางช่างก่อสร้างขึ้นมาก็อาจจะได้เงินโบนัสจากนายจ้างยิ่งขึ้น อันจะเห็นได้ว่าบริษัทก่อสร้างชั้นนำของเมืองไทยแทบทุกบริษัทขาดแรงงานจากเมียนม่าร์ไม่ได้เสียแล้ว และต่างก็พูดกันว่า แรงงานเมียนม่าร์มีความแข็งแรง อดทน ไม่อู้งาน ฝึกได้ดี เข้าใจเร็ว อยู่ง่ายกินง่าย ซื่อสัตย์ ชอบที่สุดของแรงงานต่างด้าว คือโอที

 

บนจ.8ทิศกู้ดเพาเวอร์ มอบเงินช่วยเหลือแรงงานพม่าที่เสียชีวิต

บนจ.8ทิศกู้ดเพาเวอร์ มอบเงินช่วยเหลือแรงงานพม่าที่เสียชีวิต

15 ก.ย.62 เกิดเหตุไม่คาดฝันกับแรงงานพม่าที่ราชบุรี ที่ขี่มอเตอร์ไซด์ชนเสาไฟฟ้าข้างถนน

สิ่งที่นายจ้างต้องเตรียมดำเนินการเพื่อรอรับแรงงาน

สิ่งที่นายจ้างต้องเตรียมดำเนินการเพื่อรอรับแรงงาน

สิ่งที่นายจ้าง หรือเจ้าของผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวดำเนินการเพื่อรอรับแรงงานต่างด้าว ที่มีกำหนดนัดหมายมาทำงาน

ฝึกอบรมแรงงาน ก่อนส่งนายจ้าง

ฝึกอบรมแรงงาน ก่อนส่งนายจ้าง

บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ 8 ทิศกู้ดเพาเวอร์ จำกัด ได้ลงนามเป็นพันธมิตรกับบริษัท KABAR SERVICES CO.,LTD ซึ่งเป็นพันธมิตรทางเมียนมา ซึ่งเป็นผู้นำทางด้าน ศูนย์ฝึกอบรมแรงงานที่ได้มาตรฐาน จากทั้งประเทศ สิงค์โปร์และประเทศมาเลเซีย ซึ่งศูนย์ฝึกอบรมแห่งนี้ได้ลงนามกับทางบริษัท

ปัญหาแรงงานพม่า ในงานก่อสร้าง

ปัญหาแรงงานพม่า ในงานก่อสร้าง

ปัญหาแรงงานต่างด้าวจากประเทศพม่า สำหรับงานในวงการก่อสร้างของประเทศเรานั้น มีสาเหตุหลัก ๆ ทั้งจากตัวของแรงงานต่างด้าวเอง, ปัญหาจากตัวนายจ้าง ผู้รับเหมา รวมไปถึงปัญหาที่เกิดจากนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแรงงานต่างด้าว

แรงงานก่อสร้าง ต่างด้าว MOU

แรงงานก่อสร้าง ต่างด้าว MOU

ทันที่ที่สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ภาพของการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.ก 2560 คงจะต้องเข้มข้นขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลแรงงานก่อสร้าง ต่างด้าว MOU ชาวพม่า, กัมพูชา, ลาว นายจ้าง และแรงงานจากประเทศเหล่านี้จะประสบปัญหาอย่างไรบ้าง

ภูฏาน ดินแดนแห่งศรัทธามังกรสายฟ้า

ภูฏาน ดินแดนแห่งศรัทธามังกรสายฟ้า

ประวัติประเทศภูฏานอีกมุมมองที่ได้รับความสนใจ กล่าวขานถึงกันเป็นอย่างมากสำหรับดินแดนแห่งมังการสายฟ้านี้ จากเมื่อ 1,200 กว่าปีมาแล้ว