บริการจัดหาลูกจ้างต่างด้าว

พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560

การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว

ผู้ประกอบการธุรกิจที่ใช้แรงงานต่างด้าว ต้องศึกษา และปฏิบัติตามระเบียบ รู้วิธีการปฏิบัติ ขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว และแนวทางแก้ไขอย่างถูกต้อง ให้เป็นไปตามกฎหมายใหม่ที่นายจ้างทุกคนต้องทำความเข้าใจกับพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวฉบับใหม่นี้

พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 เป็นการปรับปรุงกฎหมายที่มีบทบัญญัติยังไม่ครอบคลุมการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวทั้งระบบ ได้แก่ พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 และพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. 2559 โดยรวมกฎหมายทั้ง 2 ฉบับเป็นฉบับเดียว เน้นการให้ความคุ้มครอง อำนวยความสะดวกให้กับทั้งนายจ้าง และแรงงานต่างด้าว การเพิ่มโทษนายจ้างที่กระทำผิดกฎหมาย พร้อมดึงประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน 

เพิ่มบทกำหนดโทษให้มีอัตราโทษสูงขึ้น
      1. ผู้ใดรับคนต่างด้าวทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ หรือรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือรับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตทำงานกับตน เข้าทำงาน
มีโทษปรับตั้งแต่ 400,000 – 800,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน
      2. ผู้ใดให้คนต่างด้าวทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
มีโทษปรับไม่เกิน 400,000 บาท ต่อคนต่างด้าว 1 คน
      3. คนต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน หรือทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ
มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 – 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
      4. คนต่างด้าวที่ทำงานจำเป็นและเร่งด่วนแต่ไม่แจ้งนายทะเบียน
มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 – 100,000 บาท
      5. คนต่างด้าวทำงานแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
      6. ผู้ใดยึดใบอนุญาตทำงาน หรือเอกสารสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
มีโทษปรับไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
      7. ผู้ใดหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ
มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 – 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 600,000 – 1,000,000 บาท ต่อคนต่างด้าว 1 คน หรือทั้งจำทั้งปรับ
      8. ผู้ใดประกอบธุรกิจนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมการจัดหางาน
มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000 – 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ของนายจ้าง และผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้ความคุ้มครองแรงงาน มีกลไกการร้องทุกข์ และเข้าถึงช่องทางการร้องทุกข์ สำหรับคนต่างด้าวที่ได้รับความเสียหายจากการที่นายจ้าง หรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบตามที่กฎหมายกำหนด

 

สอบถาม สายด่วนกรมการจัดหางาน โทร 1694 เว็บไซต์ www.doe.go.th

 

บนจ.8ทิศกู้ดเพาเวอร์ มอบเงินช่วยเหลือแรงงานพม่าที่เสียชีวิต

บนจ.8ทิศกู้ดเพาเวอร์ มอบเงินช่วยเหลือแรงงานพม่าที่เสียชีวิต

15 ก.ย.62 เกิดเหตุไม่คาดฝันกับแรงงานพม่าที่ราชบุรี ที่ขี่มอเตอร์ไซด์ชนเสาไฟฟ้าข้างถนน

สิ่งที่นายจ้างต้องเตรียมดำเนินการเพื่อรอรับแรงงาน

สิ่งที่นายจ้างต้องเตรียมดำเนินการเพื่อรอรับแรงงาน

สิ่งที่นายจ้าง หรือเจ้าของผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวดำเนินการเพื่อรอรับแรงงานต่างด้าว ที่มีกำหนดนัดหมายมาทำงาน

ฝึกอบรมแรงงาน ก่อนส่งนายจ้าง

ฝึกอบรมแรงงาน ก่อนส่งนายจ้าง

บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ 8 ทิศกู้ดเพาเวอร์ จำกัด ได้ลงนามเป็นพันธมิตรกับบริษัท KABAR SERVICES CO.,LTD ซึ่งเป็นพันธมิตรทางเมียนมา ซึ่งเป็นผู้นำทางด้าน ศูนย์ฝึกอบรมแรงงานที่ได้มาตรฐาน จากทั้งประเทศ สิงค์โปร์และประเทศมาเลเซีย ซึ่งศูนย์ฝึกอบรมแห่งนี้ได้ลงนามกับทางบริษัท

ปัญหาแรงงานพม่า ในงานก่อสร้าง

ปัญหาแรงงานพม่า ในงานก่อสร้าง

ปัญหาแรงงานต่างด้าวจากประเทศพม่า สำหรับงานในวงการก่อสร้างของประเทศเรานั้น มีสาเหตุหลัก ๆ ทั้งจากตัวของแรงงานต่างด้าวเอง, ปัญหาจากตัวนายจ้าง ผู้รับเหมา รวมไปถึงปัญหาที่เกิดจากนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแรงงานต่างด้าว

แรงงานก่อสร้าง ต่างด้าว MOU

แรงงานก่อสร้าง ต่างด้าว MOU

ทันที่ที่สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ภาพของการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.ก 2560 คงจะต้องเข้มข้นขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลแรงงานก่อสร้าง ต่างด้าว MOU ชาวพม่า, กัมพูชา, ลาว นายจ้าง และแรงงานจากประเทศเหล่านี้จะประสบปัญหาอย่างไรบ้าง

ภูฏาน ดินแดนแห่งศรัทธามังกรสายฟ้า

ภูฏาน ดินแดนแห่งศรัทธามังกรสายฟ้า

ประวัติประเทศภูฏานอีกมุมมองที่ได้รับความสนใจ กล่าวขานถึงกันเป็นอย่างมากสำหรับดินแดนแห่งมังการสายฟ้านี้ จากเมื่อ 1,200 กว่าปีมาแล้ว